ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556


วิธีเรียนคณิตให้เก่ง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี

                            เชื่อว่าผู้เรียนหลายคนคงจะพบปัญหากับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แล้วเราจะมีวิธีเรียนคณิตให้เก่ง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้ได้ดี วันนี้จะได้พบกับกลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์
 
 
 
เราต้องเริ่มฝึกฝนการเป็นผู้เรียนที่ดีโดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
 
  1. เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้า หรือ ถามผู้รู้ต่อไป
  2. หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
  3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้ รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้า ทำไม่ได้ตาม กำหนดควรหาเวลาชดเชย
  4. ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
  5. ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจากตำราหลายๆ เล่ม ต้องทำ ความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการเชี่ยวชาญ คณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลกใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น
 
 
    รู้ ๆ กันอยู่ว่า คณิตศาสตร์มีสูตร มีทฤษฎีมากมาย ทำอย่างไรถึงจะจำได้หมดล่ะ ????
เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจเสียก่อน จากนั้นเราต้องหมั่นทบทวน ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การจำการลืมก่อน
ดังนั้น    จึงสรุปได้ว่า เราควรทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นๆเสียก่อน และหมั่นทบทวนทุกวันด้วย อ้อ อีกนิดหนึ่ง ถ้าอยากจำได้ดีและเข้าใจในเรื่องนั้นๆมากขึ้น เราควรที่จะ มองเปรียบเทียบคณิตเรื่องนั้นกับ เรื่องราวในชีวิตประจำวัน เช่น มองสิ่งต่างๆที่พบเจอเป็นคณิตศาสตร์ เป็นต้น
 

แล้วถ้า เกิดไม่ชอบวิชานี้เอามากๆ จะทำอย่างไรดีล่ะ ?

สาเหตุที่ เรียนคณิตศาสตร์ได้ไม่ดีของหลาย ๆ คน มักมาจากการที่ไม่ชอบวิชานี้เอามากๆ ทำยังไงก็อ่านมันไม่เข้าใจ ทำใจให้ชอบมันไม่ได้เสียที มีหลักการง่ายๆที่ว่า ถ้าไม่ชอบมัน ก็เกลียดมันเสียเลยค่ะ คิดซะว่ามันเป็นคู่ต่อสู้ของเรา เราต้องเอาชนะมันให้ได้ อย่าไปยอมแพ้มัน ถ้าเกิดเรายอมแพ้แก่มันแล้วเราก็จะไม่มีวันชนะมันได้สักที
 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การคิดและกระบวนการคิด

การคิดและกระบวนการคิด
               การคิดเป็นพฤติกรรมการทำงานทางสมองของมนุษย์ในการเรียบเรียงข้อมูลความรู้และความรู้สึก
นึกคิดที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการดู การอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมผัส และการดึงข้อมูลความรู้ที่บรรจุอยู่ในสมองเดิมตามประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกสั่งสมมา

            ทักษะการคิดจึงเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงการกระทำออกมาได้อย่างชัดเจนมองเห็นเป็นรูปธรรม เช่น พฤติกรรมการสังเกต แสดงออกด้วยการเพ่งดูอย่างพินิจพิเคราะห์ หรือพฤติกรรมการเปรียบเทียบ
เป็นการนำลักษณะของสิ่งของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งเหมือนหรือ
สิ่งต่าง เป็นต้น

            ดังนั้น การคิดจึงเป็นพฤติกรรมซับซ้อนที่มีลักษณะแยกย่อยแตกต่างกันไป เช่น การคิดวิเคราะห์
การคิดสร้างสรรค์ การคิดไตร่ตรองโดยใช้วิจารณญาณ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของร่างกาย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่รับรู้เข้ามาใหม่กับข้อมูลเก่าที่ถูกบรรจุอยู่ในคลังสมองของคนเราตลอดเวลา

            หากเปรียบเทียบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์กับสมองมนุษย์หรืออาจเปรียบได้กับสมองคนกับสมองกล จะพบว่า การทำงานของสมองคน ประกอบด้วยความชาญฉลาด 3 ลักษณะ คือ

1.              ความสามารถในการเรียนรู้และสืบค้น (Tactical Intelligence) ทั้งในรูปแบบการสังเกต การค้นหา การซักถาม การทดลองปฏิบัติ เป็นต้น

2.              ความสามารถในการแยกแยะคุณค่า (Emotional Intelligence) ทั้งในรูปแบบการตัดสิน การลงมติ การแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่เห็นด้วยหรือต่อต้าน หรือวางเฉย เป็นต้น

3.              ความสามารถในการประมวลเนื้อหาสาระ (Content Intelligence) จากเรื่องราวที่เรียนรู้ใหม่ผสมผสานกับประสบการณ์เดิมที่ถูกจัดเก็บอยู่ในสมอง โดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง และสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ ที่มักประกอบไปด้วยความเข้าใจ เหตุผล และทัศนคติ ทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบ ซึ่งความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องราวต่างๆ นี่เองที่สมองกลของคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้เหมือนสมองของมนุษย์
การฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนจึงต้องกระตุ้นการทำงานและเสริมสร้างความสามารถของสมองทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมา จึงจะบังเกิดผลการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ คือ บังเกิดความรู้ความเข้าใจที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น บังเกิดความชำนาญในทักษะและการปฏิบัติได้คล่องแคล่วขึ้น และที่สำคัญบังเกิดค่านิยมคุณธรรมที่งอกงามขึ้นในจิตใจของผู้เรียน
อ้างอิง  :  เอกรินทร์  สี่มหาศาล